แบบทดสอบมงคลสูตรคำฉันท์

แบบทดสอบ มงคลสูตรคำฉันท์

youtube                     google                    พ.ส.ว.                    สพม.11

แบบทดสอบ “ มงคลสูตรคำฉันท์ ”

คำชี้แจ้ง   ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย ×  ลงในกระดาษคำตอบที่กำหนดให้

๑.  ผู้แต่งวรรณคดี “ มงคลสูตรคำฉันท์ ” คือใคร 

ก.  รัชกาลที่ ๒

ข.  รัชกาลที่ ๔

ค.  รัชกาลที่ ๖

ง.  รัชกาลที่ ๘

 

๒.  ที่มาของวรรณคดีเรื่อง “ มงคลสูตรคำฉันท์ ” ในข้อใดที่ไม่ถูกต้อง

ก.  พระไตรปิฎก

ข.  พระวินัยปิฎก

ค.  ขุททกนิกาย

ง.  หมวดขุททกปาฐะ

 

๓.  มงคลสูตรคำฉันท์มีจำนวนกี่ประการ

ก.  ๓๕  ประการ

ข.  ๓๖  ประการ

ค.  ๓๗  ประการ

ง.  ๓๘  ประการ

 

๔.  ผู้ที่นำ “ มงคลสูตร ” มาถ่ายทอดให้พระภิกษุและประชาชนฟังคือใคร

ก.  พระพุทธเจ้า

ข.  พระอานนท์

ค.  พระสารีบุตร

ง.  พระโมคคัลลานะ

 

๕.  ข้อใดไม่ใช่จุดประสงค์ในการแต่งวรรณคดี

ก.  มุ่งให้กระทำความดี

ข.  มุ่งให้ละเว้นความชั่ว

ค.  มุ่งให้บริจาคทาน

ง.  มุ่งให้ทำจิตใจให้บริสุทธิ์

๖.  คำประพันธ์ประเภทใดไม่ปรากฏในวรรณคดี 

ก.  พระคาถาภาษาสันสกฤต

ข.  พระคาถาภาษาบาลี

ค.  กาพย์ฉบัง ๑๖

ง.  อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

 

๗.  ข้อความ “ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ” นั้น  ตรงกับข้อความใดต่อไปนี้

ก.  บำรุงบิดามา –           คุระด้วยหทัยปรีดิ์

ข.  หากลูกและเมียมี     ก็ถนอมประหนึ่งตน

ค.  การงานกระทำไป    บ มิยุ่งและสับสน

ง.  ข้อนี้แหละมงคล      อดิเรกอุดมดี

 

๘.  บุคคลในข้อใดไม่ได้ปรากฏอยู่ในทิศ ๖

ก.  บิดา – มารดา

ข.  ภรรยา – สามี

ค.  พี่ชาย – น้องสาว

ง.  ลูกชาย – ลูกสาว

 

๙.  คำประพันธ์ในข้อใดมีความเหมาะสมกับผู้ที่อยู่ในสถานะนักเรียนมากที่สุด

ก.ความได้สดับมาก     และกำหนดสุวาที

ข. ไร้โศกธุลีสุญ           และสบาย บ่ มัวมล

ค.  หนึ่งเห็นคณาเลิศ   สมณาวราจารย์

ง.  เห็นแจ้ง ณ สี่องค์    พระอรียสัจอัน

 

๑๐.  มงคลสูตรข้อใดปฏิบัติได้ง่ายที่สุด

ก.  ไม่คบคนพาล

ข.  คบบัณฑิต

ค.  บูชาบุคคลที่ควรบูชา

ง.  อยู่ในประเทศอันสมควร

ดาวน์โหลด : แบบทดสอบ มงคลสูตรคำฉันท์

Leave a comment